การเกิดสึนามิ

ภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทย

การเกิดสึนามิ

จากรายงานของภูเวียง ประคำมินทร์ (earthquake.tmd.go.th) กล่าวว่า “สึนามิ หรือ 
คลื่นสึนามิ” เป็นคลื่นในท่าเรือหรืออ่าว ถูกเรียกโดยนักวิชาการชาวญี่ปุ่น สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ภูเขาไฟ ระเบิด แผ่นดินไหว การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ ดินถล่มใต้ทะเล หรือแม้แต่หน้าผาริมทะเลที่พังทลาย ก็สามารถทำให้เกิดคลื่นสึนามิได้ 
คลื่นสึนามิ จัดเป็นคลื่นน้ำตื้นมีความแตกต่างจากคลื่นทะเลทั่วไป โดยคลื่นทะเลทั่วไปเกิดจากลมพัดผลักดันน้ำส่วนที่อยู่ติดผิว จะมีคาบการเดินทางของคลื่น เพียง 20-30 วินาที จากยอดคลื่นหนึ่งไปยังอีกยอดหนึ่ง และระยะห่างระหว่างยอดคลื่นหรือความยาวคลื่น มีเพียง 100-200 เมตร สามารถแสดงลักษณะทางกายภาพของคลื่นในทะเลดังรูปที่ แต่คลื่นสึนามิมีคาบการเดินทางของคลื่นตั้งแต่สิบนาทีไปจนถึงสองชั่วโมง และความยาวคลื่นมากกว่า 500 กิโลเมตรขึ้นไป

ที่มา: www.vcharkarn.com/include/article/showarticle.php?Aid=267

ตัวอย่างผลกระทบจากสึนามิของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2547

ผลกระทบของคลื่นสึนามิจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 9.0 ที่หมู่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ปี พ.ศ. 2547 ได้สร้างความเสียหายอันมหาศาลต่อพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทย พื้นที่ได้รับผลกระทบครอบคลุมพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดพังงา จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล รวม 25 อำเภอ 95 ตำบล 407 หมู่บ้าน แสดงภาพตัวอย่างความเสียหายดังรูป