มาตรฐานการปฏิบัติกรณีวาตภัย

เอกสารเผยแพร่

มาตรฐานการปฏิบัติกรณีวาตภัย

ลักษณะภัย  ลมแรง ฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน มีคลื่นสูง และน้ำท่วมชายฝั่ง
ข้อควรจำ           

  • เมื่อมีการแจ้งเฝ้าระวัง หมายถึงพายุจะมาถึง ภายใน 36 ชั่วโมง
  • เมื่อมีการแจ้งเตือนภัย หมายถึง พายุจะมาถึง ภายใน 24 ชั่วโมง
  • เมื่อเกิดพายุ จะมีฝนตกหนัก และอาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน
  • เมื่อเกิดพายุแล้วแต่มีลมสงบฉับพลัน หมายถึงเราอยู่ในศูนย์กลางของพายุและจะมีพายุตามมาอีกครั้ง

 

ก่อนเกิดพายุ

ขณะเกิดพายุ

หลังเกิดพายุ

ซ่อมแซมอาคารให้แข็งแรง ติดตั้งอุปกรณ์เสริมความแข็งแรงของประตู หน้าต่าง เช่นขอสับเพื่อป้องกันไม่ให้ลมพัดกระแทกปิด

ปิดประตูหน้าต่างให้แน่นหนา พร้อมปิดเทปตามแนวประตูหน้าต่าง

ตรวจสอบสิ่งที่ได้รับความเสียหายและอาจจะหักโค่นลงมาได้ เช่น หลังคาบ้าน ต้นไม้ ป้ายโฆษณา เสาไฟฟ้า และดำเนินการซ่อมแซม

ยึดส่วนประกอบอาคาร เช่น หลังคา รางน้ำ สายไฟให้แน่นหนา

หลีกเลี่ยงการอยู่นอกอาคารหรือที่โล่ง เพราะอาจจะมีเศษวัสดุ กิ่งไม้หักปลิวมาตามแรงลม

ตรวจสอบอาคารและส่วนประกอบอาคารว่ายังอยู่ในสภาพที่แข็งแรงและปลอดภัย

ประตูหน้าต่างที่เป็นบานกระจกควรมีการติดฟิล์มหรือมีการป้องกันไม่ให้กระจกแตกกระจายจากแรงลม

ออกห่างหน้าต่าง ประตูที่มีบานกระจกเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายหากกระจกแตกเพราะแรงลม

 

ป้องกันระบบน้ำ ระบบไฟ ติดตั้งระบบตัดไฟ อุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า

งดใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า คอมพิงเตอร์ และโทรศัพท์ หรือถอดปลั๊กออก

 

ตัดต้นไม้สูงไม่ให้ล้มทับอาคาร

หลีกเลี่ยงที่ต่ำที่เกิดน้ำท่วมฉับพลันได้

 

สอนนักเรียนให้รู้จักทักษะในการป้องกันตัวเมื่อเกิดเหตุ และเส้นทางอพยพ จุดรวมพล

ออกห่างจากวัตถุที่เป็นสื่อไฟฟ้าทุกชนิด

 

ติดตามข่าวสาร การพยากรณ์และคำเตือนจากทางราชการอย่างใกล้ชิด

อย่ารีบออกจากที่กำบังจนกว่าจะ แน่ใจหรือได้รับข้อมูลสถานการณ์ ปลอดภัย