มาตรฐานการปฏิบัติกรณีอุทกภัย (Flood/Flash flood)

การบริหารจัดการของโรงเรียน

มาตรฐานการปฏิบัติกรณีอุทกภัย (Flood/Flash flood)

ลักษณะภัย
มีสายน้ำไหลมาอย่างรวดเร็วรุนแรง มีน้ำท่วมฉับพลัน อาจมีดินโคลนและท่อนซุง ไหลมาพร้อมกับ สายน้ำ
 
ข้อควรจำ
น้ำมาให้ขึ้นที่สูง ตัดไฟฟ้าเพื่อป้องกันไฟฟ้าดูด

 

ก่อนเกิดน้ำท่วม

ขณะเกิดน้ำท่วม

หลังเกิดน้ำท่วม

ตรวจสอบกับชุมชนรอบสถานศึกษาดูว่าเคยเกิดน้ำท่วมสูงที่สุดแค่ไหน เพื่อหาพื้นที่ที่ปลอดภัย

หากจำเป็น ให้อพยพไปอยู่ที่สูงที่ปลอดภัยให้เร็วสุด

ตรวจสอบพื้น ผนัง และหลังคา ว่าอยู่ในสภาพที่ปลอดภัย หากไม่แน่ใจให้ตามช่างมาตรวจสอบก่อน

ตรวจสอบว่ามีวิธีการเตือนภัยจากที่ไหน และอย่างไรบ้าง เช่นการแจ้งจากชุมชน

ให้ปิดท่อน้ำทิ้งในห้องน้ำ ท่อ โถส้วมที่น้ำสามารถไหลเข้าอาคารทั้งหมด

กำจัดน้ำและโคลนออกจากอาคาร
ทำความสะอาดห้องเรียนที่น้ำท่วม

ย้ายสวิทซ์ ปลั๊กไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้า และสะพานไฟให้อยู่สูงกว่าระดับที่คาดว่าน้ำจะท่วมถึง

ปิดสะพานไฟฟ้า (คัทเอาท์) และแก๊ซ

ไม่จับหรือเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้า และไม่เปิดไฟ
จนกว่าจะมั่นใจว่าปลอดภัย

ลอกท่อระบายน้ำ ตรวจสอบรางน้ำ ไม่ให้มีสิ่งอุดตันที่ทำให้น้ำไหลไม่สะดวก  เตรียมกระสอบทรายไว้กั้นน้ำ

ระมัดระวังเศษวัสดุ ซากกิ่งไม้
ของมีคม หรือสารเคมีต่างๆที่อาจจะไหลหรือปนเปื้อนมากับกระแสน้ำ

ประเมินความเสียหายและของบประมาณซ่อมแซม

จัดพื้นทีเพื่อป้องกันความเสียหาย เช่น ควรย้ายเอกสาร สมุด หนังสือไปไว้ชั้นสอง

เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ที่อาจจะเสียหายจากน้ำท่วมขึ้นชั้นบน

 

สอนนักเรียนให้รู้จักทักษะในการป้องกันตัวเมื่อเกิดเหตุ

ติดตามข่าวหรือประกาศเพื่อปฏิบัติตามคำแนะนำ

 

ทำแผนและซ้อมแผนพื่อให้ทุกคนรู้จักสัญญาณเตือนภัย เส้นทางอพยพ ที่ปลอดภัย

 

 

ติดตามการประกาศเตือนภัยจากสถานีวิทยุท้องถิ่น โทรทัศน์