มาตรฐานการปฏิบัติกรณีดินถล่ม

การบริหารจัดการของโรงเรียน

มาตรฐานการปฏิบัติกรณีดินถล่ม

ลักษณะภัย  หิน ดิน ทราย โคลน ซึ่งอยู่บนที่ลาดชันสูงเลื่อนไถลมายังที่ต่ำ 
ข้อควรจำ เมื่อเกิดฝนตกหนัก หรือเกิดแผ่นดินไหว มักเกิดดินถล่มตามมา 

 

ก่อนเกิดดินถล่ม

ขณะเกิดดินถล่ม

หลังเกิดดินถล่ม

ศึกษาดูประวัติ สภาพดินและร่องน้ำรอบพื้นที่รอบสถานศึกษา
ว่าเคยเกิดเหตุดินถล่มหรือไม่

เมื่อได้รับคำสั่งให้อพยพ อย่าลังเล ให้พานักเรียนไปยังจุดปลอดภัย

ติดตามฟังข่าวพยากรณ์อากาศ เพื่อทราบสภาพสถานการณ์ของภาวะฝนตกหนักหรือน้ำป่าไหลหลาก

หลีกเลี่ยงการสร้างอาคารในบริเวณที่เคยมีเหตุการณ์ดินถล่ม

หากไม่สามารถอพยพได้ทัน ให้หาพื้นที่แข็งแรงปลอดภัยเพื่อหลบภัยในอาคาร

กลับสู่สถานศึกษา หรือส่งนักเรียนกลับบ้านเมื่อมีประกาศจากทางราชการว่าปลอดภัยเท่านั้น

เตรียมแผนอพยพ เส้นทางหนีภัย และซ้อมอพยพ

หากพลัดตกไปในกระแสน้ำ ห้ามว่ายน้ำหนีเป็นอันขาด เพราะอาจโดนซากต้นไม้ และก้อนหินที่ไหลมากับโคลนกระแทก จนเป็นอัตรายถึงตายได้

สำรวจดูความเสียหายของอาคารเรียน อาคารประกอบและระบบสาธารณูปโภค

ปลูกพืชยึดหน้าดินบริเวณเชิงเขา และพื้นที่ลาดชัน เพื่อลดความเสี่ยงดินถล่ม

ดำเนินการซ่อมแซมอาคาร สิ่งของ เครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์

เข้าร่วมเครือข่ายเฝ้าระวังหรือประสานงานกับชุมชนใกล้เคียงที่มีระบบการเฝ้าระวังเพื่อติดตามสถานการณ์

 

 

สอนนักเรียนให้รู้จักการสังเกตกระแสน้ำ ดินโคลนถล่มและการเอาตัวรอดในสถานการณ์วิกฤติ

เตรียมกระเป๋าฉุกเฉินและอุปกรณ์ยังชีพให้พร้อมอพยพ