มาตรฐานการปฏิบัติกรณีแผ่นดินไหว

การบริหารจัดการของโรงเรียน

มาตรฐานการปฏิบัติกรณีแผ่นดินไหว

ลักษณะภัย แผ่นดินเกิดการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง โดยไม่มีสิ่งบอกเหตุล่วงหน้า
ข้อควรจำ เมื่อเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง มักมีแผ่นดินไหว ตามมาอีกหลายครั้ง อาจเกิดแผ่นดินแยก แผ่นดินถล่ม และอาคารอาจไม่พังทลายในทันทีแต่อาจะพังทลายภายหลัง

 

ก่อนเกิดแผ่นดินไหว

ขณะเกิดแผ่นดินไหว

หลังเกิดแผ่นดินไหว

ตรวจสอบอาคารเรียน อาคารประกอบ ระบบสาธารณูปโภค ให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง 

อย่าตื่นตกใจ พยายามควบคุมสติ

ตรวจสอบตัวเองและคนข้างเคียง
ว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่
แล้วทำการปฐมพยาบาลขั้นต้น

หาที่หลบกำบังในบริเวณที่ปลอดภัย เช่น บริเวณอาคารที่มีโครงสร้างแข็งแรง 

ตรวจสอบเครื่องมือดับเพลิงให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

หมอบบริเวณใต้โต๊ะที่ใช้มือกำบังศีรษะและลำคอ

เมื่อแผ่นดินไหวหยุดลง ให้รีบออกจากอาคาร ห้ามใช้ลิฟต์ และบันไดหนีไฟ

ตรจสอบให้รู้ตำแหน่งของวาล์วปิดน้ำ
วาล์วปิดก๊าซ สะพานไฟ (คัทเอาท์)

หากอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้า และสิ่งห้อยแขวนต่างๆ

ปิดวาล์วถังแก๊ส ยกสะพานไฟ (สับคัทเอาท์) อย่าจุดไม้ขีดไฟหรือก่อไฟจนกว่าจะแน่ใจ ว่าไม่มีแก๊สรั่ว

ไม่วางสิ่งของหนักบนชั้นหรือหิ้งสูงๆ

อยู่ห่างจากประตูหน้าต่างที่เป็นกระจก

ออกจากบริเวณที่สายไฟขาด

ยึดติดอุปกรณ์และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ กับพื้นหรือผนังอย่างแน่นหนา

เมื่อออกจากอาคารแล้ว ไม่ให้กลับเข้าไปอีกเพราะอาจเกิดอาฟเตอร์ช็อคและอาคารถล่ม

ใส่รองเท้าหุ้มส้นเสมอ เพราะอาจมีเศษแก้วหรือวัสดุแหลมคมอื่นๆ
ที่หักพัง อาจทิ่มแทงได้

เตรียมกระเป๋าฉุกเฉินที่มียา ถ่านไฟฉาย อุปกรณ์ปฐมพยาบาล และรายชื่อนักเรียนไว้ในห้องเรียน

หากกำลังขับรถ ให้หยุดรถในที่โล่ง ห้ามหยุดรถใต้สะพาน ทางด่วน ป้ายโฆษณา และต้นไม้ขนาดใหญ่

สำรวจดูความเสียหายของอาคารเรียน อาคารประกอบและระบบสาธารณูปโภค

สอนนักเรียนให้รู้จักทักษะในการป้องกันตัวเมื่อเกิดเหตุ และเส้นทางอพยพ จุดรวมพล

อพยพไปยังจุดปลอดภัยและตรวจสอบรายชื่อนักเรียนที่บาดเจ็บ สูญหาย และแจ้งเจ้าหน้าที่กู้ภัยค้นหา

จัดพื้นที่สำหรับเป็นห้องเรียนชั่วคราวในกรณีที่ไม่แน่ใจในความปลอดภัยของอาคารเรียน